คลิกที่นี่ -->> เปรียบเทียบทำเลและราคาที่ดินวังน้ำเขียวผ่าน GooleMAP | คลิกที่นี้ -->> Upload ภาพหัวข้อ: เด็ดกลโกงที่ดิน เริ่มหัวข้อโดย: LesCop ที่ 22 มกราคม 2556 14:49:35 เด็ดกลโกงที่ดิน
เรื่องการหลอกลวง โกงที่ดิน ในกรณีต่าง ๆ มีให้ได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ และก็มีมาตลอดตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบันอนาคตก็คงยังมีอยู่ถ้าเราไม่เรียนรู้ หาวิธีป้องกัน โดยเฉพาะในแหล่งที่ที่ดินเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำเช่น หัวหิน สมุย ภูเก็ต เชยงใหม่ ซึ่งกลโกงที่ดินมีอยู่หลายลักษณะรวบรวมไว้ให้พึ่งระวังกันไว้ดังนี้ 1. กลโกงจากเจ้าของที่ดินหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ 2. กลโกงจากผู้จัดสรรที่ดินหรือเจ้าของโครงการ 3. กลโกงจากบุคคลภายนอกหรือตัวแทนนายหน้าค้าที่ดิน เรามาดูกลโกงอันดับแรกกันว่ามีกี่แบบ กลโกงจากเจ้าของที่ดินหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ 1. เจ้าของที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนำโฉนดของตนไปประกันเงินกู้กับผู้อื่น โดยไม่ได้จดทะเบียนแล้วมาแจ้งขอรับใบแทนโฉนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอ้างว่าโฉนดเดิมสูญหายไป เมื่อได้รับใบแทนโฉนดแล้วจึงนำไปจดทะเบียนขาย ขายฝากหรือจำนองกับผู้อื่น 2. เจ้าของที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทำสัญญาซื้อขายที่ดินรับเงินไปแล้วบางส่วนหรือทั้งหมด ให้ผู้อื่นครอบครองที่ดินก่อนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ภายหลัง ต่อมาเจ้าของที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้นำโฉนดไปจดทะเบียนให้แก่ผู้อื่นอีก 3. เจ้าของที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหลอกลวงผู้ซื้อ โดยการชี้ที่ดินที่ขายไว้ผิดกับความจริง เช่นสภาพท่ดินจริงอยู่ไกลถนน ไกลแม่น้ำ หรือสภาพที่ดินเป็นถนน หรือถูกน้ำเซาะพังหาย หรือเป็นบ่อน้ำไปแล้ว หรือจำนวนที่ดินไม่ครบ เวลาพาผู้ซื้อไปดูที่ดินจะชี้ที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ใกล้ถนนหรือใกล้น้ำ หรือที่ดินที่ดูดีมีราคากว่าแทน 4. เจ้าของที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแบางขายที่ดินเป็นแปลง ๆ โดยวิธีผ่อนชำระจะมีการนัดจดทะเบียนโอนกันเมื่อชำระหมดแล้ว และเจ้าของที่ดินหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้นำที่ดินแปลงเดี่ยวกันไปขายให้ผู้ซื้อคนอื่นผ่อนอีก เมื่อผ่อนเสร็จปรากฎว่าที่ดินโอนเป็นของผู้อื่นไปแล้ว กลโกงจากผู้จัดสรรที่ดินหรือเจ้าของโครงการจัดสรร 1. ผู้ทุจริตอ้างตัวเป็นผู้จัดสรรที่ดินหรือสร้างบ้านจัดสรร ซึ่งเรื่องนี้ผู้ทุจริตได้กำหนดท่ดินผืนนึ่ง ที่ดูแล้วว่าเจ้าของไม่ได้มาดูหรือทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น จากนั้นก็ปักป้ายประกาศว่าจะมีโครงการจัดสรร เปิดเป็นสำนักงานชั่วคราว ลงทุนพิมพ์โฆษณาเปิดให้จอง โดยให้วางเงินจองราคาถูก ๆ ผู้คนก็แห่กันไปจอง แถมผ่อนเป็นเป็นงวด ๆ แล้วก็มี แต่บ้านก็ไม่ได้สร้างจริงซักที เมื่อได้รับเงินจนพอใจหรือเห็นท่าไม่ดีก็จะเชิดเงินหายไป ปล่อยให้เจ้าของที่ซึ่งไม่รู้เรื่องรับหน้าเสื่อไป 2. ผู้ทุจริตสร้างหมู่บ้านจัดสรร แต่ไม่ทำตามที่ประกาศโฆษณาไว้ ในเรื่องนี้ได้มีการสร้างหมู่บ้านจัดสรรกันจริง และได้มีโฆษณาว่าจะตัดถนนให้ สร้างสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ฯลฯ และเมื่อโครงการเสร็จเรียบร้อย ได้นำถนนหรือสวนสาธารณะไปทำอย่างอื่น เช่นให้คนอื่นเช่าทำตลาด หรือเอาที่ดินทรัพย์ส่วนกลางไปจำนองพอหลุดจำนองถูกยืด ชาวบ้านที่ซื้อโครงการก็ไม่มีทางออก กลโกงจากบุคคลภายนอกหรือตัวแทนนายหน้าค้าที่ดิน 1. ผู้ทุจริตหลอกลวงหรือขโมยเอาโฉนดที่ดินของผู้อื่นมาแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้เป็นชื่อตน แล้วนำไปประกันเงินกู้หรือทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้อื่น เรื่องนี้จะมีปัญหาก็คือผู้ทุจริตเอาไปทำสัญญาเงินกู้ โดยไม่ได้จอทะเบียนกับที่ดิน หรือเอาไปทำสัญญาจะซื้อจะขายรับเงินมัดจำไปก่อน 2. ผู้ทุจริตหลอกลวงหรือขโมยเอาโฉนดที่ดินของผู้อื่นมาแล้วทำใบมอบอำนาจปลอมชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายให้ผู้อื่นไปหรือทำทีขอยืมโฉนดจากเจ้าของที่ดินไปดูเพื่อช่วยหาผู้ซื้อ หรือขอไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินเสร็จแล้วก็ทำโฉนดปลอมคืนให้เจ้าของที่ดินไป เรื่องนี้โดยมากมักเกิดจากบุคคลใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว 3. ผู้ทุจริตหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินและใบมอบอำนาจของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ลงชื่อไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้จำนองหรือขอสอบเขตที่ดิน แต่ผู้รับมอบทุจริตเอาไปขายหรือขายฝาก 4. ผู้ทุจริตหลอกลวงหรือขโมยเอาโฉนดที่ดินของผู้อื่นมาแล้วปลอมตัวว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมาจดทะเบียนขายเรื่องนี้ผู้ทุจริต ต้องสามารถเซ็นชื่อให้เหมือนเจ้าของโฉนดได้ดี แถมมีบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินตัวจริงมาแสดงด้วยซึ่งมันก็คือบัตรปลอม ตัวเจ้าหน้าที่เองก็อาจจะตรวจสอบผิดพลาดเนื่องจากมีประชาชนติดต่อใช้บริการกันมาก 5. ผู้ทุจริตกระทำตัวเป็นนายหน้าวิ่งเต้นขายที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยขอค่านายหน้าแล้วหลอกให้เจ้าของที่ดินเซ็นสัญญามัดจำผูกมัดให้โอนที่ดินให้ก่อน โดยชำระเงินแต่บางส่วนที่เหลือมาชำระภายหลังแล้วสมคบกับผู้ซื้อ ผู้รับจำนอง หรือผู้รับซื้อฝาก เมื่อโอนกันเรียบร้อนแล้วก็ไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ เรื่องมักเกิดกับเจ้าของที่ดินที่อายุมาก ๆ มักหลงคารมพวกนี้ง่าย 6. ผู้ซื้อไม่ยอมชำระราคาให้ครบถ้วนเมื่อได้รับการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว หรือนำที่ดินที่มีการตกลงจะซื้อจะขายกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปขายให้บุคคลอื่นโดยที่ตนได้รับส่วนกำไรจากการขาย เรื่องนี้ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นเท่าไหร เพราะการชำระค่าที่ดินในปัจจุบันจะจ่ายเป็น แคชเชียร์เช็ค วิธีป้องการ กลโกง การหลอกลวงเกี่ยวกับที่ดิน บัญญัติ 10 อย่างเพื่อการป้องกัน 1. การเก็บรักษาโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเก็บรักษาเอกสารของตนไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้หายหรือถูกขโมยไปเป็นอันขาด และเมื่อเอกสารสิทธิ์หายไปให้รีบแจ้งความโดยเร็ว และให้ไปพบเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกฉบับใหม่ 2. อย่าหลงเชื่อบุคคลอื่นที่ขอยืมโฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ เพราะบางครั้งคนที่รู้จักดีหรือแม้กระทั่งพี่น้อง ลูกหลานจะมาพูดจาหว่านล้อมขอยืมโฉนดเพื่อเอาไปให้คนโน้น คนนี้ดู เพื่อจะขายหรือจำนอง แต่กลับเอาไปทำอย่างอื่นแทน 3. อย่าเซ็นชื่อในใบมอบอำนาจที่ไม่มีการกรอกข้อความครบถ้วน ถ้าจะทำนิติกรรมเรื่องใดก็ให้เขียนลงไปในใบมอบอำนาจให้ชัดเจน โดยใบมอบอำนาจจะต้องลงรายละเอียดให้ชัดเจนเรียบร้อยทุกิย่างก่อนที่จะเซ็นมอบอำนาจให้ผู้ใดไป 4. อย่าหลงเชื่่อนายหน้า เพราะนายหน้าบางรายหวังผลประโยชน์ตนเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้นความเสียหายอาจเกิดได้ทุกเวลา ทางที่ดีควรติดต่อกับเจ้าของที่ดิน หรือผู้ซื้อบ้างไม่ใช้ติดต่อผ่านนายหน้าอย่างเดียว 5. ผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นผู้ที่ไว้ใจได้ มีความประพฤติดีเชื่อถือได้ ไม่ควรมอบอำนาจให้กับผู้อื่นที่ไม่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน และถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรไปติดต่อเรื่องที่ดินด้วยตนเองจะปลอดภัยกว่า 6. ต้องจดทะเบียนนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามที่กฎหมายกำหนด อย่าทำสัญญากู้เงิน หรือขายฝากกันเองโดยรับมอบโฉนดไว้เป็นประกันเป็นอันขาด เพราะโฉนดที่นำมาประกันอาจเป็นของปลอม หรืออาจจะไปแจ้งหายแล้วของฉบับใหม่แทนอีกก็ได้ และการทำนิติกรรมก็จะัไม่มีผลบังคับใช้ได้ ต้องทำกับเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น 7. ต้องตรวจสอบที่ดินก่อนและตรวจสอบโฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ด้วย ก่อนจะซื้อ รับจำนอง หรือรับซื้อฝากที่ดิน ควรไปตรจสอบดูที่ตั้งที่ดินก่อนว่าอยู่ตรงไหน หลักหมุดตรงกับเอกสารหรือไม่ สภาพเป็นอย่างไร ราคารับได้มั๊ย แล้วก็ไปตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่สำนักงานที่ดิน ระวาง ที่ตั้งที่ดินกับเจ้าพนักงานที่ดินว่าตรงกับที่เราไปดูมาหรือไม่ 8.หมั่นตรวจสอบที่ดินของตนทั้งทางทะเบียน และตัวที่ดินจริง ถ้าเจ้าของที่ดินไม่เคยทำการโอนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเลย ควรไปขอตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินอย่างน้อยปีละครั้ง ดูว่าที่ดินของตัวเองยังเป็นของเราตามปกติหรือไม่ หลักฐานถูกต้องตามตั้นฉบับที่สำนักงานที่ดินมีหรือไม่ เพราะเคยมีการปลอมแปลง เอกสารต่าง ๆ มาจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดิน กว่าเจ้าของตัวจริงจะรู้เรื่องที่ดินก็มีการโอนเปลี่ยนมือกับไปหลายทอดแล้ว จากนั้นก็ต้องไปดูที่ดินจริง ๆ ของตนด้วยว่ามีใครเข้ามาทำอะไรกับที่ดินเราหรือไม่ 9. การซื้อที่ดินจัดสรร ควรซื้อจากผู้ที่ไว้วางใจได้ การซื้อที่ดินจัดสรร ควรซื้อจากเจ้าของที่ดินที่มีหลักฐานมั่นคง เช่นมีธนาคารเป็นผู้คำ้ประกัน หรือให้สินเชื่อ มีใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินจากทางราชการ ดูให้ดีว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้จัดสรรไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระค่าที่ดินหมดตามสัญญา เจ้าของที่ดินก็ไม่ยอมโอนที่ดินให้ เนื่องจากผู้จัดสรรไม่ได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินก็เลยไม่ยอมโอน 10. อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาของผู้จัดสรร หากเป็นการซื้อบ้านจัดสรรหรือที่ดินจัดสรร ควรไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินว่า โครงการจัดสรรที่ดินได้มีการจัดทำโครงการตามที่โฆษณาไว้หรือไ่ม่ เช่นการจัดสาธารณูปโภค บริการสาธารณะต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ และการซื้อขายที่ดินต้องไปจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อย่าหลงเชื่อผู้จัดสรรว่าทำสัญญาซื้อขายกันเองได้ และการแจ้งราคาซื้อขายควรแจ้งตามความเป็นจริง เพราะทางปฏิบัติมักทำสัญญากันสองฉบับ ฉบับนึ่งเป็นการซื้อขายที่ดิน อีกฉบับเป็นสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้าน แล้วไปจดทะเบียนเพียงสัญญาซื้อขายที่ดินสัญญาเดียว ต่อมาก็เกิดปัญหาเรื่องหลักฐานทางทะเบียนบ้านว่าเป็นของผู้จัดสรร
คลิกที่นี่ -->> จัดพระของขวัญเข้ารุ่นและพิมพ์ |