ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

LogoThai.COM  |  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย  |  พัฒนาระบบและสาระน่ารู้ (ผู้ดูแล: LesCop)  |  ความรู้เกี่ยวกับหยก
LOGOthai.com

คลิกที่นี่ -->> เปรียบเทียบทำเลและราคาที่ดินวังน้ำเขียวผ่าน GooleMAP | คลิกที่นี้ -->> Upload ภาพ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  ตอบ  |  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับหยก  (อ่าน 13959 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
LesCop
แหลม+คม=หอก
Administrator
เศรษฐีพันล้าน
*

พลังน้ำใจ 575
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 424


ขอหยุดที่86เอย


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 สิงหาคม 2557 07:41:43 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง

ความรู้เกี่ยวกับหยก
 &a064&

หินหยกคืออะไร

             คำว่า JADE (เจด) มาจากภาษาสเปญว่า “ Piedra de hijade ” หมายถึง “ เจ้าแห่งหินทั้งปวง” และยังมีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคได้ ซึ่งเรียกว่า CONQUISTADORS

             ส่วนชาวจีนถือว่าหยกมีค่าสูงสุด และเรียกว่า “ ยี่” (ภาษาจีนกลาง) แต้จิ๋วเรียก “ เง็ก” ชาวจีนยอมรับ นับถือว่าหยกรักษาความเจ็บป่วย และป้องกันสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลได้นำโชควาสนาสู่ผู้ครอบครอง อภินิหาร และความศักดิ์สิทธิ์ของหินหยก ชาวจีนครั้งโบราณยังเชื่อถือว่าผู้มีบุญวาสนาจึงได้ครอบครองหินหยกติดตัว

             หินหยกมีความสำคัญต่อราชตระกูลกษัตริย์ของจีนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมาแล้ว ตระกูลใหญ่ ๆ นิยมนำชื่อ-แซ่ (สกุล) และหนังสือ ๔ ตัว แสดงเป็นเครื่องหมายสำคัญลงในแผ่นหยก เป็นตราประจำวงศ์ตระกูล ซึ่งตามปกติใช้เวลาทำพิธีประสิทธิ์ความศักดิ์สิทธิ์ก่อน (พุทธาภิเษก) จึงจะนำออกแจกจ่ายได้ เพราะพระหยกเป็นของสร้างได้ยาก มีจำนวนน้อย ท่านผู้ใดได้ครอบครองประจำตัวจะปกป้องคุ้มครองรักษาตัวเราได้ในทุกที่ ทุกสถาน ทำมาค้าขายธุรกิจอันใด อธิษฐานในใจสิ่งปรารถนาจะพบกับความสำเร็จสุขสวัสดีทุกสิ่งทุกประการ

หยกในโลกนี้มี ๒ ชนิด

             หยกจริงแท้ธรรมชาติ ที่นักวิทยาศาสตร์นักวิชาการทั่วไปยอมรับมี ๒ ชนิด หรือ ๒ ประเภท คือ

หยกประเภทเจดไอท์หรือเจไดต์ (JADEITE)
             มีธรรมชาติกำหนดจากแร่โซเดียมและแร่อลูมิเนียม เนื้อหยาบเป็นเส้น มีความใสความขุ่นมีธาตุโซเดียมเป็นองค์ประกอบสำคัญ มีสูตรทางเคมี คือ Na Al (Si ๒ O ๖) ความแข็ง (Hardness ( ๖.๕ - ๗) น้ำหนักถ่วงเฉพาะ (Specific Gravity) ๓.๔๔ มาตรการหักเหแสง ๑.๖๖-๑.๖๘ ความหนาแน่น ๓.๒๕-๓.๓๕ มีความทนทานสูง เป็นเพราะการประสานตัวของผลึกเป็นไปอย่างซับซ้อนและมีความเหนียวดีมาก เชื่อกันว่ามีอายุประมาณในยุคพรีแคมเบรียน ระหว่าง ๑๔๑-๕๗๐ ล้านปี แล้วบางแห่งมีอายุ ๓๗ - ๑๔๐ ล้านปีก็มี หยกชนิดนี้มีรูปผลึกระบบโมโนคลีนิค หยกเจดไอท์หรือเจไดต์ส่วนมากมีหลายสี เช่น ขาวขุ่น น้ำตาล เหลือง ม่วง เทา ดำ ฟ้า น้ำเงิน มีลักษณะเป็นก้อน ๆ บางก้อนก็มีหลายสีปะปนกัน ส่วนหยกสีเขียวหายากมาก มีน้อยมาก มีปะปนอยู่ในก้อนหยกสีต่าง ๆ เช่น ในก้อนหยกสีขาวขุ่นเป็นต้น หยกเจไดต์สีเขียวที่พบเพียงเล็กน้อย นิยมนำมาเจียรนัยเป็นเครื่องประดับคือหัวแหวนสีเขียว และถือว่ามีค่าราคาค้าขายกันเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ ยื่งในปัจจุบันนี้ราคาเป็นล้าน ๆ ส่วนหยกเจดไอท์หรือเจไดต์ที่ไม่มีสีเขียวปน นิยมสลักเจียรนัยเป็นกำไรหยก ขายกันวงละหลายพันหลาย หมื่นบาท และนอกนั้นก็จะเจียรนัยเป็นศิลปะกรรมรูปพระพุทธรูป รูปสัตว์ ผลไม้ และศิลปกรรมของใช้สวยงามต่าง ๆ

            หยกเจดไอท์นี้ มีหลายสี ถึงแม้ว่ามีสีเขียวจะมีค่ามากในเชิงธุรกิจเครื่องประดับ แต่ในทางวิทยาศาสตร์ ทางวิชาการแล้วถือว่ามีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน เป็นแร่ชนิดเดียวกัน มีความแข็งเท่ากัน ไม่มีอะไรต่างกันเลย หยกเขียวชิ้นละ ๕ ล้านกับหยกสีธรรมดาชิ้นละ ๕๐๐ บาท ล้วนมีคุณสมบัติเท่ากันหรือเหมือนกันทุกประการ

             หยกเจดไอท์หรือเจไดต์นี้ ส่วนมากพบในชายแดนพม่าติดจีนในรัฐคะฉิ่น แถบเมืองโมกอง ผาก้าน โมฮัง ในจังหวัดมิจิน่า (หรือมะยิตกินา) แนวเทือกเขา TAWMAW ในพม่า เป็นแหล่งหยกเนื้อแข็งเจไดต์ที่รู้จักกันมากที่สุด นิยมเรียกกันว่าหยกพม่า แหล่งหยกชนิดนี้ที่สำคัญรองมาคือที่ตุรกี บริเวณทิวเขามณฑลเชนสี และยูนานของจีนก็พบแหล่งหยกเจไดต์แบบเดียวกันกับของพม่า และเนื่องจากหยกเจไดต์มีหลายสีและส่วนใหญ่พบจะไม่มีสีเขียว ส่วนมากจะพบสีเทา สีหม่น สีครีมต่าง ๆ หรือมีเขียวปะปนบ้างเล็กน้อย บางก้อนก็มีสีม่วงปน เนื้อหยกชนิดนี้มีลักษณะเนื้อแบ่งออกเป็น ๖ อย่าง คือ


  • เนื้อคล้ายเทียนไข
  • เนื้อแก้ว (เนื้อค่อนข้างใส แต่หายากและแพงมาก หากเป็นสีเขียวใส เขียวสดใส ราคาเป็นหลายสิบล้านขึ้นไป หากสีไม่เขียวแต่เนื้อใสก็มีราคาเป็นแสนเป็นล้านขึ้นไปเช่นกัน)
  • เนื้อคล้ายผ้าแพรของจีน
  • เนื้อมะระมัน (คล้ายเนื้อผ้าอย่างดีในราชสำนักโบราณของพม่า)
  • เนื้อครั่ง ขุ่น ๆ หยาบ ๆ
  • เนื้อไส้ฟักทอง


การแบ่งหยกของประเทศพม่าเพื่อขายแปรรูป มี ๓ อย่าง หรือ ๓ ประเภท

             อย่างที่ ๑ สำหรับทำหัวแหวนโดยเฉพาะ จะคัดเลือกเอาเฉพาะที่มีสีเขียวสด เนื้อค่อนข้างใส ซึ่งมี ปริมาณน้อยมาก มีขนาดเล็ก ๆ มาตัดเจียรนัยเป็นหัวแหวน ขายในราคาแพงเป็นแสนเป็นล้านขึ้นไป เรียกหยกอย่างนี้ว่า IMPERIAL JADE หรือหยกจักรพรรดิ หรือเรียกอีกชื่อว่า EMERALD COLOUR JADE หรือ หยกสีมรกตซึ่งหยกชนิดนี้แพงที่สุดหายากที่สุด และมีปริมาณขนาดชิ้นเล็ก ๆ นิยมทำหัวแหวน หรือเครื่องประดับเพื่อค้าขายกันในวงการธุรกิจอัญมณีเท่านั้น ไม่นิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูปเพราะมีปริมาณขนาดเล็กและหายากราคาแพงมาก ในจำนวนปริมาณก้อนหยกหลายพันก้อน จึงจะพบจุดหรือปาน สีเขียวชนิดนี้ปรากฏเป็นบางส่วนในเนื้อของก้อนหยกพม่าเป็นบางก้อนเท่านั้น จะพบได้โดยการนำหยกพม่าเป็นก้อนมาผ่าหรือ มาตัดเป็นชิ้น ๆ ด้วยเครื่องตัดหยก จำนวนหลายร้อยหลายพันก้อนจึงจะพบแถบสีเขียวสดปรากฏอยู่เป็นบางจุดในส่วนเนื้อหยก เขาก็จะตัดส่วนเขียว ๆ นั้นออกมาเจียรไนเป็นรูปหัวแหวนหลังเบี้ยทำเป็นหัวหยกขายกันราคาแพงมาก หยกแบบนี้เรียกว่าหยก IMPERIAL JADE หรือ EMERALD COLOUR JADE เป็นที่นิยมของวงการเครื่องประดับอัญมณีทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มของชาวจีนทั่วโลก ชาวญี่ปุ่น เกาหลี นิยมกันมาก หยกชนิดนี้ขนาด เล็ก ๆ เท่าหัวแหวน หรือขนาดเท่าเล็บมือ ขายกันชิ้นละ ๑-๕ ล้านก็มี

           อย่างที่ ๒ เป็นหยกที่เหลือจากประเภทแรก คือก้อนหยกที่ตัดผ่าเอาส่วนสีเขียวสดไปแล้วหรือไม่มีส่วนสีเขียวสดปรากฏอยู่ในเนื้อหยก เขาก็จะเอาหยกชนิดนี้มาขายเพื่อนำไปแปรรูปเป็นหยกเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ทำกำไลหยก และศิลปกรรมเครื่องประดับต่าง ๆ หยกประเภทที่สองนี้อาจเป็นหยกที่มีสีเขียวปะปนบ้างเขียวบ้าง แต่เขียวไม่สดอาจเป็นสีเขียวอ่อน เขียวประปราย สีเขียวคล้ำ เขียวแก่ใบไม้ สีเขียวปนน้ำตาลปนขาว ถ้าหากไม่มีสีเขียวปนก็เป็นหยกเนื้อเทียน เนื้อแก้ว เนื้อแพร เมื่อเจียรนัยแปรรูปแล้วจะมีเนื้อมันเนียน นิยมทำกำไลหยก เรียกหยกอย่างที่ ๒ ว่า UTILITY JADE หยกประเภทนี้รัฐบาลทหารพม่าเปิดประมูลชายแก่บรรดาโรงงาน เจียรไนหยกประเทศต่าง ๆ โดยเปิดประมูลที่กรุงร่างกุ้งปีและที่เมืองมัณฑเลย์ปีละ ๓-๕ ครั้ง หยกประเภทนี้ประมูลเป็นก้อน ๆ ถ้าก้อนใหญ่ ๆ ราคาว่ากันเป็นหลายแสน หลายล้านบาทขึ้นไป

         อย่างที่ ๓ เป็นหยกที่มีสีขุ่น ๆ ทึบ ๆ มีสีต่าง ๆ เช่น เทา หม่น สีทึบคละปะปนกันแต่สีก็สวยและมีค่าเช่นกัน หยกประเภทนี้จะเหมาขายกันเป็นกิโล เอาน้ำหนักก้อนหยกเข้าว่า เรียก COMMERCIAL JADE หยกชนิดนี้โรงงานแปรรูปจะนำมาแกะสลักเจียรนัยเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ และเครื่องใช้ศิลปกรรมสวยงามแบบต่าง ๆ หยกชนิดนี้เมื่อแปรรูปแกะสลักเจียรนัยแล้วก็มีราคาแพงขึ้นเป็นหลายแสน หลายล้านเช่นกัน หยกชนิดที่ ๓ นี้ พม่าเรียกว่า “ อะตาเจ้า” ส่วนชนิดที่ ๒ เรียกว่า “ อะเถ่เจ้า ” ชนิดที่ ๑ เรียกว่า “ ครีมโซดา”

          หยกทั้ง ๓ ชนิดมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ แตกต่างกันที่สี และขนาดเท่านั้น ส่วนก้อนขนาดใหญ่ ๆ ไม่ค่อยปรากฏมากนัก ถ้ามีส่วนมากก็จะมีแต่รอยแตกร้าวตามธรรมชาติของหินหยก ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยได้เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ เท่านั้น แต่ถ้ามีองค์ใหญ่ๆมากๆจะไม่ใช่หยกพม่าแต่จะเป็นหินสีจากแคนนาดาหรือแถบยุโรป ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ว่า จะว่าด้วยความงดงามหรือความแข็งแกร่ง ความแวววาวของเนื้อหยกและความนิยมของคน รองจากหยกพม่ามาก (หยกพม่าที่ทราบมา ในประเทศไทย ความใหญ่หน้าตักไม่เกิน ๒๕ นิ้ว แต่ที่วัดอู่ทรายคำ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่กำลังจะแกะเร็ว ๆ นี้ ก้อนหยกจากพม่ามีพร้อมแล้วจะมีขนาดหน้าตักกว้างถึง ๒๙ นิ้ว สูง ๑ เมตรกว่าๆ )

หยกประเภทเนไฟรต์,เนฟไรท์ นีฟไรท์ (NEPHRITE)
          มีธรรมชาติเกิดจากแร่แม็กนีเซี่ยม คัลเซี่ยม และเหล็ก หรือเป็นแร่ตระกูลแอมฟิโบล มีรูปผลึกแบบโมโนคลีนิค มีสูตรทางเคมี คือ ( Ca ๒ (Mg,Fe) ๕ Si ๘ O ๒๒ (OH) ๒ หยกจำพวกนี้มีสีเขียวใบไม้สด ใบไม้แก่ เขียวใบไม้อมสีดำ ไปจนถึงสีจางเกือบขาว หยกชนิดนี้มีความแข็งน้อยกว่าหยกเจดไอต์(หยกพม่า) คือความแข็ง (Hardness) ๖.๕ น้ำหนักถ่วงจำเพาะ (Specitic Gravity) ๓ มาตรการcl'sydgs (Refractive Indices) ๑.๖๐-๑.๖๓ ความหนาแน่น ๒.๙๓-๓.๑ หยกเนไฟรต์ปัจจุบันพบมาก ในบริติช โคลัมเบีย ใกล้อะลาสก้า ในประเทศแคนาดา มีแหล่งหยกเนื้อดีสีใบไม้สดจนถึงเขียวอมดำจำนวนมากตามบริเวณเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุมขาวโพลนเกือบตลอดปี นอกจากนี้ยังพบที่ไซบีเรียประเทศรัศเซียก็มีหยกเนไฟรต์แบบเดียวกันประเทศแคนาดาเช่นกัน หยกเขียวเนไฟรต์จากรัสเซียมีชื่อเสียงรู้จักกันมานาน นอกจากนั้น ยังพบในบริเวณตะวันออกของไต้หวัน ส่วนในประเทศนิวซีแลนด์เรียกหยกชนิดนี้ว่า หินสีเขียว (Green Stone) ในประเทศออสเตรเลีย หยกจำพวกนี้มีกำหนดตามหินชื่อเมารี ในอดีตชนเผ่าเมารีใช้ทำหัวขวานและอาวุธต่าง ๆ หัวขวานโบราณที่ทำด้วยหยกชนิดนี้ได้พบในที่หลายแห่ง เช่นในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา เวเนซูเอลา นิวกินี แม้ตามประเทศเหล่านี้ไม่ปรากฏมีแหล่งกำเนิดหยกก็ตาม หยกเนไฟรต์จากแคนาดามี ๓ เกรด คือ เกรดเอ - เขียวใบไม้สด เกรดบี - ปานกลาง เกรดซี - เขียวดมสีดำ ออกมืด ๆ (วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ กรุงเทพฯ ก็ใช้หยกประเภทนี้ทำเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่หยกพม่าประเภท ๑)



หมายเหตุ : สีของหยกเจดไอท์ที่ไม่ใช่สีเขียว ที่เป็นหยกสีขาว สีขุ่นสีต่าง ๆ อาจมีความคล้ายคลึงกับสีหินอ่อน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าหยกแท้ต้องเขียว หากสีไม่เขียวเป็นหินอ่อนนั้น ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง เพราะการจะวินิจฉัยว่าเป็นหยกหรือหินอ่อนนั้นต้องดูที่ความแข็ง เนื้อแร่ ความทนกรดด้วย หยกทั้ง ๒ ชนิดจะทนต่อกรดทุกชนิด ส่วนหินอ่อนไม่ทนกรด หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิสูจน์คือกองวิเคราะห์กรมทรัพย์กรธรณี และผู้ที่เชี่ยวชาญที่จะตรวจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นหยกหรือหินอ่อน สามารถแจ้งความจำนงพิสูจน์ได้

ที่มา : www.jadebuddha.info

 &a035& &a035& &a035& &a035& &a035&
หากสนใจองค์ด้านล่างนี้โทร
083-540-7228


* S__131219.jpg (232.46 KB, 960x1280 - ดู 1283 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 สิงหาคม 2557 08:00:14 โดย LesCop » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า


>> เมื่อโกรธจัด อย่าเพิ่งตอบข้อความใคร..
>> เมื่อดีใจ อย่าเพิ่งให้สัญญา..
>> เมื่อเศร้าหนักหนา อย่างเพิ่งตัดสินใจ..
Frungfeedti
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2557 15:58:08 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข

หยกสำหรับผมแล้วถือว่าเป็นเครื่องประดับและเป็นสิ่งศักสิทธิ์อีกด้วย
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Granbull
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2558 19:55:41 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข

เราก้อพึ่งเคยได้อ่าน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Zabarata
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2558 10:24:15 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข

ได้ความรู้ดีครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Korillggo
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2558 19:06:26 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข

เป็นบทความ ที่มีประโยชน์ มากครับ ได้รู้เรื่องหยกมากขึ้น
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Ebuekkndluv
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 กันยายน 2558 15:01:05 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข

แล้วจะแยกของจริงกับของปลอมได้ยังไงครับผม
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
LesCop
แหลม+คม=หอก
Administrator
เศรษฐีพันล้าน
*

พลังน้ำใจ 575
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 424


ขอหยุดที่86เอย


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 กันยายน 2558 20:13:36 »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง

แล้วจะแยกของจริงกับของปลอมได้ยังไงครับผม

วิธีสังเกตุหยกง่ายๆ เอาไฟฉายส่องดู แสงจะทะลุดังภาพนี้


* 71692.jpg (61.08 KB, 1280x720 - ดู 1196 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า


>> เมื่อโกรธจัด อย่าเพิ่งตอบข้อความใคร..
>> เมื่อดีใจ อย่าเพิ่งให้สัญญา..
>> เมื่อเศร้าหนักหนา อย่างเพิ่งตัดสินใจ..
แท็ก: หยก พม่า คะฉิ่น 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  ตอบ  |  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


:: ข้อตกลงร่วมกัน ::
ห้ามโพสต์รูปลามก หรือสิ่งผิดกฏหมายทุกประเภท
ห้ามโพสต์ข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ห้ามใช้วาจาไม่สุภาพ หรือด่าทอ ข้อความหรือเนื้อหาที่เกิดขึ้น ผู้โพสต์ต้องเป็นคนรับผิดชอบเท่านั้น หากเราตรวจสอบว่ามีการโพสต์รูปลามก หรือทำสิ่งผิดกฎหมาย
เราจะลบโพสต์ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า




คลิกที่นี่ -->> จัดพระของขวัญเข้ารุ่นและพิมพ์

หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.156 วินาที กับ 26 คำสั่ง